Home » World of Design » Monkey Man

Monkey Man

Posted 11 October 2024

‘พวัสส์ สวัสดิ์ชัยเมธ’ คนไทยผู้ออกแบบงานสร้างหนังระดับโลก Monkey Man

  • จุดเริ่มต้นที่มาเป็น Production Designer ให้กับ Monkey Man

ผมได้รับการติดต่อจาก Infinite Studio ในบาตัม ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสตูดิโอที่ผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศอยู่แล้ว และผมก็เคยทำงานกับที่นี่มาก่อน 4-5 ปีแล้ว นี่เลยเป็นจุดเริ่มต้นครับ

  • ได้ใช้ไอเดียตัวเองในการออกแบบอย่างเต็มที่แค่ไหน มีข้อกำหนดอะไรบางจากผู้สร้าง และส่วนไหนคือสิ่งที่เรานำเสนอไป

Design Concept หลักที่อยู่ในภาพยนตร์ อยู่ใน look book ที่ผมนำเสนอตั้งแต่แรกที่ได้อ่านบทภาพยนตร์ ผมได้นำเสนอความคิดเกี่ยวกับการเลื่อนฐานะจากชนชั้นล่างสู่ชนชั้นบนของ ‘คิด’ ที่แฝงตัวเข้ามาในอาณาจักรของผู้มีอิทธิพล จากการทำทุกวิถีทางที่จะถีบตัวเองเพื่อเลื่อนสถานะ

ลิฟต์ที่ใช้ในการเดินทางในตึก จึงเป็นทั้งพาหนะขนส่งและเปรียบเปรยถึงการเลื่อนชั้นของตัวเอกในการมาล้างแค้น การออกแบบภายในของลิฟต์จากชั้นสู่ชั้นจึงมีการตกแต่งภายในแตกต่างกันด้วย

  • คุณตีความตัวละครเอกที่ได้แรงบันดาลใจจาก ‘หนุมาน’ ออกมาอย่างไร

การตีความ “หนุมาน” ถือเป็นหัวใจหลักของภาพยนตร์ที่ เดฟ ในฐานะผู้เขียนบท ได้ซึมซับ Mythology (เทวตำนาน) นี้มาเป็นอย่างดี และปรากฏอยู่ในการนำเสนอแล้วตั้งแต่ขั้นตอนของบท เช่น นักมวยปล้ำใน Underground Fight Club ที่สวมหน้ากากลิง ทาสีบนร่างกายด้วยสีขาวเพื่อเป็นตัวแทนของ White Monkey

ผม ทีมงานอินเดียและทีมอินโดนีเซียเองมีพื้นฐานความเข้าใจในเรื่องรามเกียรติ์คล้ายคลึงกันมาก งานค้นคว้าหลักผมเลยขอให้ทางทีมอินเดียที่มีหน้าที่ตกแต่งฉาก ใช้ภาพอ้างอิงจากประเทศอินเดียเป็นต้นแบบ ส่วนศิลปินที่วาดภาพประกอบในหนังสือ Graphic Novel book และภาพ Mural painting ขนาดใหญ่บนชั้นบนของ King Club เป็น Illustrator กับ Painter ชาวอินโดนีเซีย

 

  • ทีมผู้สร้างพูดถึง Monkey Man ว่าเป็น ‘หนังบู๊แนวอาร์ท’ สิ่งนี้ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านงานของคุณอย่างไร

จากวัฒนธรรมอินเดียที่ฝังอยู่ในวัฒนธรรมไทยมาอย่างยาวนาน ถือเป็นข้อได้เปรียบของผมที่มีระยะห่างพอที่จะเข้าใจศิลปะอินเดีย แต่มีอิสระและกล้าพอที่จะปรับบางอย่างให้เข้ากับแนวทางของภาพยนตร์

สำหรับผมสำคัญตรง Design Concept ที่สามารถแยกฐานันดรของตัวละครหลัก ๆ ในเรื่องได้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น การเลือกใช้กลุ่มสี (Color Palette) แทนคนแต่ละกลุ่ม กลุ่มสี Monochromatic ของคนมีอำนาจและมีฐานะ บวกด้วยสีน้ำตาลโอ๊คดำ ขับเน้นด้วยสีแดงและทอง ในขณะที่คนชั้นล่างจะอยู่กับสี natural base เช่นสีน้ำตาลแดง สีเขียวของธรรมชาติ และอาภรณ์สีสดแบบคนในเขตร้อนเป็นต้น

ในความเห็นของผม Monkey Man เป็นภาพยนตร์แอคชันที่มีการใช้ศิลปะเอเชียของอินเดียจึงสร้างความตื่นตาตื่นใจได้มากจากคนดูภาพยนตร์ในส่วนอื่นของโลก และอาจมีลักษณะทางภาพที่คล้ายหนังอาร์ท หรือหนังคัลท์

 

 

  • เอกลักษณ์ในงาน Production Design ของคุณคืออะไร

งานของผมจะเน้นสนับสนุนการเล่าเรื่อง (Story telling) เป็นอันดับแรก, รูปแบบ (Forms) จะถูกออกแบบเพื่อรับใช้ สนับสนุนการเล่าเรื่องนั้น ๆ, งานออกแบบมีความสอดคล้องกับตระกูลของภาพยนตร์ (Films Genre), ออกแบบฉากโดยคำนึงถึงแสงที่จะตกกระทบในฉาก และเมื่อมีโอกาสในบท ผมจะพยายามใช้งานทัศนศิลป์อื่น เช่น ภาพเขียนจิตรกรรม ประติมากรรม ให้ถูกต้องและประณีตที่สุด

 

  • ความภาคภูมิใจ และสิ่งที่คิดว่าเจ๋งในผลงานของเราจากหนังเรื่องนี้

ผมพยายามสร้างโลกของ Monkey Man ให้อยู่ในขนบของศิลปะอินเดียโดยพื้นฐาน และมีคุณค่าในการรับชมแบบภาพยนตร์ (Cinematic Values), งานที่เดฟพึงพอใจมากที่สุดฉากหนึ่งคือฉากในวัดฮินดูร้างที่ ‘คิด’ ใช้ซ้อมชกกระสอบทรายผสานกับการให้จังหวะของกลอง

ฉากนี้เราตกแต่งสร้างวัดขึ้นมาจากตึกร้างแห่งหนึ่งบนเกาะที่มีต้นไม้ใหญ่อยู่บนพื้นที่ภายในอาคาร การออกแบบที่ทำได้คุ้มกับงบประมาณและได้ผลลัพธ์ที่ทุกคนพอใจ ทั้งนี้ผมและทีมงานจากไทย อินเดีย มาเลเซียและอินโดนีเซีย มารวมตัวกันเป็นทีมศิลปกรรมของทีมงานชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงควรได้รับเครดิตร่วมกัน

  • ประสบการณ์การทำงานกับ ‘เดฟ พาเทล’ และทีมงาน Monkey Man

เดฟเป็นคนหนุ่มที่พลังเกินร้อย แล้วพอเขาต้องเข้าฉากแอ็คชั่นเยอะเขาก็ฟิตออกกำลังกายเหมือนนักกีฬาเลย ซึ่งส่งผลให้บางวันเราเดินกันเป็นสิบกิโลเพื่อหาโลเคชั่นในการถ่ายหนัง ก็หนักหน่วงพอสมควร ใช้แรงกายกับการหาสถานที่ที่จะดัดแปลงเป็นอินเดียได้

เขาให้ความร่วมมือดีมาก ช่วงหลังๆ เขาจะยุ่งมากเพราะทำงานหลายบทบาทมาก แต่ทุกครั้งที่นัดหมายก็จะให้ความร่วมมือดีมาก เพราะยังไงงานก็ต้องเดินหน้า แล้วก็เป็นโชคดีด้วยที่พวกเราอยู่รวมกันหมด การเดินทางต่างๆ ก็จะสะดวกรวดเร็ว วันนึงทำได้หลายอย่าง

 

  • สถานะของคนทำงานเบื้องหลังจากประเทศไทยในตลาดโลก เราได้รับความยอมรับนับถือในฝีมือ และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับไหน

ทีมงานไทยได้รับการยอมรับเรื่องฝีมือมากขึ้นมานับสิบ ๆ ปีแล้ว จากภาพยนตร์ในหลากหลายประเทศที่เข้ามาผลิต ส่วนคนที่ทำงานในระดับ Head of Department (H.O.D.) อาจจะยังไม่มากนัก แต่เชื่อว่าคนรุ่นใหม่ที่กำลังสร้างผลงานได้มากขึ้นโดยเฉพาะผ่านทาง Streaming และอื่น ๆ น่าจะเป็นเครดิตที่ดีที่จะทำให้เรซูเม่มีความแข็งแรงขึ้นตามลำดับ รวมทั้งพัฒนาทักษะเรื่องการสื่อสารในภาษากลาง

 

  • เส้นทางของคนวงการหนังไทยกับการทำงานในระดับสากล ปัจจุบันยากง่ายแค่ไหน ต้องอาศัยคุณสมบัติอะไรบ้าง

พอนึกเปรียบเทียบก็อดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบกับวงการกีฬา ถ้าอุตสาหกรรมในประเทศแข็งแรง มีงานทำต่อเนื่อง เราก็จะมีคนทำงานที่มีชั่วโมงบินมากขึ้น ในปริมาณคนทำงานที่มากขึ้น มากรุ่นขึ้น

ต้องยอมรับว่ามีคนเก่งอยู่ทั่วโลก เหมือนการไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในสายงานภาพยนตร์คนทำงานมีความจำเป็นต้องสะสมผลงานที่ดีไว้เพิ่มความน่าเชื่อถือ เพื่อแข่งขันกับชาติอื่น ควรมีความรู้ความเข้าใจในระบบกองถ่ายแบบสากล เพิ่มพูนสุนทรียศาสตร์ของภาพยนตร์จากงานภาพยนตร์ให้หลากหลายประเทศเป็นต้น

การทำงานของเอกชนขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ (อันนี้พูดกันมาอย่างยาวนานแล้ว), การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับบุคคากรในสายอาชีพขาดเจ้าภาพทำให้ทีมงานภายในประเทศเติบโตได้ในสปีดที่ช้ากว่าในต่างประเทศ

https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/entertainment/1126708

'Pawas Sawatchaiyamet The Thai designer behind the world-class movie Monkey Man

• The starting point of becoming the Production Designer for Monkey Man I was contacted by Infinite Studio in Batam, Indonesia, which is a studio that already produces foreign films, and I had previously worked there about 4-5 years ago. This was the starting point for me.

 

How much have I been able to use my own ideas in the design? What requirements have come from the creators, and which parts are what I presented?

The main design concept in the film is in the look book that I presented from the very beginning when I read the script. I proposed the idea of 'Kith' rising from the lower class to the upper class, subtly infiltrating the realm of the influential, driven by the determination to elevate his status.

The elevator used for traveling within the building serves as both a mode of transportation and a metaphor for the protagonist's ascent in his quest for revenge. The interior design of the elevator, from floor to floor, thus varies in decoration.

 

• How do you interpret the main character inspired by 'Hanuman’?

 Interpreting "Hanuman" is considered the core of the film, and Dave, as the screenwriter, has absorbed this mythology thoroughly, which is evident in the presentation right from the script stage. For example, the wrestler in the Underground Fight Club wears a monkey mask and has white paint on his body to represent the White Monkey. Myself, along with the Indian crew and the Indonesian team, share a similar foundational understanding of the Ramayana. Therefore, I requested the Indian team, who are responsible for set design, to use imagery from India as a reference. Meanwhile, the artists who illustrated the Graphic Novel book and the large mural painting on the upper level of the King Club are Indonesian illustrators and painters.

 

The creators of Monkey Man describe it as an ‘art-action movie.’ How is this conveyed through your work?

The long-standing influence of Indian culture within Thai culture gives me an advantage, as I have enough distance to understand Indian art, yet I have the freedom and courage to adapt certain elements to fit the film's direction.

For me, the Design Concept is crucial in clearly distinguishing the social status of the main characters. For example, I chose a color palette to represent each group of people. The monochromatic color palette for those in power and wealth is complemented by dark oak brown, accented with red and gold, while the lower class is represented with natural base colors such as reddish brown, greens of nature, and vibrant tropical clothing, among others.

In my opinion, Monkey Man is an action film that utilizes Indian Asian art, which can create a stunning visual experience for audiences in other parts of the world. It may also possess visual characteristics similar to art films or cult films.

 

What are you proud of, and what do you think is cool about our work from this movie?
I tried to create the world of Monkey Man rooted in Indian art while also having cinematic values. One of the scenes that Dave was most pleased with is the one set in an abandoned Hindu temple, where 'the character' uses a punching bag, synchronizing it with the rhythm of the drums.
For this scene, we designed the temple based on a derelict building on an island that has a large tree within the space of the structure. The design we achieved was cost-effective and resulted in a pleasing outcome for everyone involved. My team, which includes members from Thailand, India, Malaysia, and Indonesia, came together as a Southeast Asian arts team, and we believe we deserve shared credit.

 

Experience working with ‘Dev Patel’ and the Monkey Man team
Dev is a youthful person with boundless energy. When he has to do a lot of action scenes, he trains and stays fit like an athlete, which means that on some days we walk several kilometers to find locations for the film. It can be quite tiring, as we have to put in a lot of effort to find places we can transform into India.
He has been very cooperative. Recently, he has been very busy juggling many roles, but every time we set a meeting, he has been very supportive. After all, the work needs to move forward, and it’s also a stroke of luck that we are all together. Travel becomes more convenient and efficient, allowing us to accomplish multiple tasks in a day.