ย้อนรอย มนต์รักทรานซิสเตอร์ ตอน 1+2
ผมคุยกับเพื่อนรุ่นน้องหลายคนที่ชมชอบภาพยนตร์ของเป็นเอก ยังพูดถึงหนังบางเรื่องว่าเป็นภาพยนตร์ในดวงใจ ผมเลยมีความคิดว่าอยากจะเอางานออกแบบในภาพยนตร์ของเป็นเอก มาเขียนลงใหม่ที่นี่ ( เคยเขียนไว้บางแล้วใน post เก่าเก่าที่นี่, แต่คราวนี้จะเป็นมุมอื่นอื่น ตามที่จำได้และมีรูปประกอบ )
ความที่ไม่ใช่นักเขียนและพิมพ์ไทยไม่ค่อยคล่อง แต่จะพยายามเล่าให้น่าติดตามครับ
ขอเริ่มที่เรื่องนี้
มนต์รักทรานซิสเตอร์ (2001)
ตอน 1
‘เริ่มที่บ้านริมนํ้า, เดินทางผ่านสายนํ้าและจบลงที่จุดเริ่มต้น…บ้านริมนํ้า’
มนต์รักทรานซิสเตอร์ เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สองที่ผมกำกับศิลป์ให้กับภาพยนตร์ไทย
แต่เป็นหนังลำดับที่สามของผู้กำกับเป็นเอก
ผมเกิดที่กรุงเทพเติบโตที่กรุงเทพ ฉะนั้นมุมมองต่อชีวิตต่างจังหวัด จึงเป็นมุมมองของคนนอกที่มองต่อวิถีชีวิตของคนต่างจังหวัด อย่างไรก็ดีการมีชีวิตอยู่ตามกองถ่ายหนังมาตั้งแต่เรียนจบ ถ่ายทำและเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วเมืองไทย ภาพของต่างจังหวัดจึงซึมซับไว้เป็นอย่างดี แต่นั่นก็คือมุมมองของคนกรุงเทพอยู่ดี, ข้อด้อยอันนี้ที่อาจจะช่วยให้งานที่ผมออกแบบภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงคิดและทำออกมาแตกต่างออกไปจากงานแบบขนบเดิมในการนำเสนอชีวิตในชนบท ก็อาจเป็นไปได้
อย่างที่เรารู้กันว่าสถานที่ในการถ่ายทำที่เหมาะสมให้กับภาพยนตร์ มันจะไม่ได้อยู่ในละแวกเดียวกันหรือขอบเขตติดต่อกันจริงระหว่างฉากหนึ่งสู่อีกฉากหนึ่ง
การมองหาสถานที่ที่เหมาะสมนั้น จำเป็นต้องมีความคิดตั้งต้น เพื่อสามารถบอกให้คนหาสถานที่ถ่ายทำ ( Location Manager ) ออกไปค้นหา ( location scouting ) ในขั้นเตรียมงานเพื่อนำเสนอให้กับผู้กำกับและทีมงานหลัก
สิ่งแรกที่ผมทำได้ในงานนี้ตอนเริ่มต้นคือการที่เขียนแผนที่ของเรื่อง (Story map) ขึ้นมาก่อน
“Story map” ช่วยทำให้เราเริ่มทำข้อตกลงกันบนโต๊ะก่อน ได้ว่าตัวละคอนแต่ละตัว อยู่อาศัยทิศไหนของกันและกัน, เดินทางไปมาหาสู่กันอย่างไร?
โดยปรกติแล้วบทภาพยนตร์ จะเน้นบรรยายเหตุการณ์ ในสิ่งที่ตัวละคอนทำมากกว่า การบรรยายสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ หรือแม้แต่การเข้าออกฉากของตัวละคอน
/ how the cast enters and exits the scene. ขั้นตอนนี้เราจึงควรทำตอนช่วงเตรียมการถ่ายทำ
(pre production)
สิ่งต่างต่างพวกนี้ ไม่ง่ายเลยถ้าเราจะไม่คิดไว้ล่วงหน้า แล้วไปหาหรือตัดสินใจกันในวันถ่ายทำ,
อีกข้อหนึ่ง เราจะควบคุมความต่อเนื่องของตัวละคอนตัวเดียวกันที่ต่อเนื่อง
จากฉากหนึ่งไปสู่อีกฉากหนึ่งให้ดูไหลลื่น ไม่ขัดกับความรู้สึกของผู้ชมได้ถ้าเรากำหนดภูมิศาสตร์ ไว้เสียก่อน อาทิเช่นบ้านพระเอก อยู่ต้นแม่นํ้าฝั่งขวาของแม่นํ้า, ส่วนบ้านของนางเอกอยู่ถัดลงมาตามแนวล่างของแม่นํ้าแต่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่นํ้า เป็นต้น
สิ่งที่เรียกว่า Screen direction ที่ผู้กำกับและช่างภาพจะต้องตัดสินใจเกี่ยวข้องโดยตรงกับบริบทนี้
ในการวางเฟรม การวางองค์ประกอบของภาพ และการเข้าออกฉากของตัวละคอน ก็จะทำได้สะดวกขึ้น
และนี่คือ Story map ของภาพยนตร์เรื่อง มนตร์รักทรานซิสเตอร์ครับ
ตัวแสดงหลักในเรื่องได้แก่ แผน และสะเดาเป็นคนต่างจังหวัดโดยมีชีวิตที่อยู่อาศัย ผูกพันอยู่กับสายน้ำ
ผมและผู้กำกับ เราเริ่มต้นกันตรงจุดนี้ บ้านนางเอกที่อยู่ริมแม่นํ้าสักแห่งหนึ่ง
เราเริ่มต้นจากการพบสถานที่ถ่ายทำหลักซึ่งในบทคือบ้านของนางเอกชื่อสะเดา
เป็นบ้านหลังเล็กๆอยู่ริมแม่น้ำสายเล็กๆแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอยุธยา
เค้าเรียกแถวนั้นว่าคลองเจ้าเจ็ด, พระนครศรีอยุธยา
เราใช้ลักษณะของสายน้ำแม่น้ำเองเป็นตัวเชื่อม สถานที่ต่างๆเข้าด้วยกันในหลายหลายฉากหลายหลายซีน
จะเล่าให้ฟังว่าในที่สุดเราจบลงด้วยการถ่ายทำทั้งสิ้นในสี่จังหวัดภาคกลาง
เพื่อทำให้โลกของแผนและสะเดา มีอยู่จริงในภาพยนตร์ ( มีต่อ )
Story map ของภาพยนตร์เรื่อง มนตร์รักทรานซิสเตอร์
บ้านของแผนอยู่ทางต้นนํ้า แผนมาจากทิศเหนือของแม่น้ำ
แผน ถูกวางทางขวาของภาพ
น้องสาวแผน พายเรือเอาของมาให้สะเดา มาจากทางขวาเฟรม
ตอนที่ 2
การทำ story map ที่เล่าในตอนที่แล้ว ไม่มีหลักวิชาการบังคับอะไรครับ เป็นเรื่องของจินตนาการล้วนล้วน แต่มีความจำเป็นที่ต้องคิดออกมาจากบทภาพยนตร์ กล่าวคือเราต้องให้ความเคารพต่อบทภาพยนตร์เป็นสำคัญ บทภาพยนตร์ได้ถูกสร้างสรรมาด้วยความยากลำบาก และผ่านการคัดกรองมาหลายขั้นตอน ดังนั้นบทภาพยนตร์จึงเป็นคัมภีร์สำคัญให้เรายึดถือไว้ในการทำงานและ
บทภาพยนตร์จะมีข้อมูลเพียงพอในการเตรียมงานต่อ
ขอเข้าตำราภาพยนตร์ก่อนนะครับ
หลังจาก ผช. ผกก. เริ่มต้นแตกรายละเอียดของบท ( script breakdown ) ข้อมูลชุดแรกแรกที่จะหลุดออกมาก่อนเพื่อน ได้แก่ Scene list และ Location list
( ขอเรียก scene ว่าซีน หรือ ฉาก นะครับในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ฉากหรือเซ็ท ที่เราสร้างขึ้น)
Scene list กล่าวง่ายง่ายก็คือการคลี่ฉากต่างต่างที่ระบุอยู่ในบทภาพยนตร์ ออกมาดูว่าในหนังเรื่องนั้น มีทั้งหมดกี่ฉากเหตุการณ์ หนังแต่ละเรื่องมีจำนวน scenes แตกต่างไม่เท่ากัน, ภาพยนตร์ความยาว 90-100 นาที จำนวนซีนหรือฉากอาจมีตั้งแต่ 70 ซีนขึ้นไปจนถึงเกินร้อยกว่าซีน เป็นไปได้หมด,
บทภาพยนตร์ที่เขาเรียกว่าบทที่ได้ทำ Correct Format แล้ว,จะมีเลขซีน ( Scene number ) กำกับอยู่ข้างหน้าเสมอ
เจ้าเลขกำกับซีนพวกนี้มีความสำคัญไปจนจบการถ่ายทำนั่นแหละครับ
ขณะที่ Location list คือการมาไล่ดูในขั้นตอนทำ Script breakdown นี้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่แบบใดบ้าง
ยกตัวอย่างเช่น ในบทจะมีการพูดว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่บ้านของสะเดา จะมีฉากที่สะพานท่านํ้าหน้าบ้าน, ที่ระเบียงหน้าบ้านชั้นสอง, ในห้องสะเดา, ใต้ถุนบ้าน, ครัวหลังบ้าน เป็นต้น
ดังนั้นเราจะต้องแยกออกมาดูว่า พวกจุดต่างต่างที่กล่าวมานี้ สามารถถ่ายทำในบ้านหลังเดียวกันได้ไหม
(สมมุติว่าไม่ได้ เราก็ต้องถ่ายทำจากบ้านมากกว่าหนึ่งหลังขึ้นไป)
ถ้ากล่าวถึงฉากอื่นอื่นเช่น ฉากแผนกับสะเดาแต่งงานกัน, ฉากแผนไปเป็นทหารเกณฑ์,
ฉากสะเดาไปดูหนังกลางแปลงที่ตลาด, ฉากงานวัด เป็นต้น
กล่าวถึงตรงนี้ อาจจะเริ่มเห็นภาพว่า ถ้าจะหาสถานที่ที่สวยงามตามท้องเรื่อง และดูเข้ากันดีก็
ไม่น่าจะหาได้ในบริเวณใกล้เคียงกันได้เลย และนั่นคือสิ่งที่นำไปสู่การค้นหาสถานที่ตามท้องเรื่อง
(location scouting) ที่ได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ 1, ก่อนที่จะข้ามต่อไปอยากสรุปให้เห็นก่อนว่า location list โดยปรกติแล้ว
ก็จะมีจำนวนแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับบทภาพยนตร์ นั่นแหละครับ
โดยทั่วทั่วไป จะมีตั่งแต่ 15- 30 สถานที่ถ่ายทำ หรืออาจจะมากกว่านั้นก็ได้ ไม่ใช่เรื่องแปลก
( นั่นหมายความว่า หนึ่งสถานที่ถ่ายทำ อาจรับใช้การถ่ายทำ ได้หลายหลาย scenes, เช่นค่ายทหารทีแผนไปฝึก สามารถเป็นที่ที่ถ่ายทำได้ 4-6 scenes เป็นต้น/ หรืออีกตัวอย่าง ภาพยนตร์มี 80 ซีนอาจมี location ที่ต้องไปถ่ายทำ 20 แห่งเป็นต้น )
วกออกไปทางวิชาการ เลยยังไม่ได้ลงเกี่ยวกับภาพยนตร์เท่าไหร่,
แต่มันจะเกี่ยวกันในที่สุดละครับ
บทภาพยนตร์เรื่องมนต์รักทรานซิสเตอร์นี้ เมื่ออ่านก็จะพบว่า ผู้เขียนได้สร้างชุมชนหนึ่งขึ้นมาซึ่งในที่นี้ได้แก่ “หมู่บ้านบางนํ้าไหล” ที่ที่ตัวละคอนหลักทั้งคู่เติบโตและเป็นคนในหมู่บ้านเดียวกัน
การบรรยายของบทโดยรวมรวมระบุเรื่องการเดินทางด้วยการจราจรทางนํ้า, นาข้าว, ตลาดชุมชนและอื่นอื่น ผมและเป็นเอกเห็นตรงกันในสิ่งแรกก่อน นั่นก็คือ เรื่องที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในที่ลุ่มภาคกลางของเรานี่แหละ
บ้านสะเดา ที่มีหน้าบ้านติดกับชายนํ้า เป็นจุดแรกที่เราพล็อตได้ว่าเราควรเริ่มตั้งต้นจากนี้
การไปดูสถานที่เพื่อสังเกตุการณ์ ( location recce ) ในช่วงแรกแรกช่วยพวกเราทุกคนให้เกิดมิติในภาพมากกว่าการนั่งคิดกันในห้อง โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่ต้องใช้สถานที่จริงเช่นเรื่องนี้
คลองเจ้าเจ็ด จังหวัดพระนครศรีอยุทธยา เป็นจุดที่ทำให้การร่างภูมิศาสตร์ของเรื่อง
เกิดขึ้น และผมใช้สายนํ้า เส้นนี้เป็นแกนหลักแล้วลองเริ่มพล็อต locations ที่ซีนต่างต่างจะเกิดขึ้น
ในที่สุดแล้วเราก็จบลงด้วยการได้สถานที่หลักหลักในสามจังหวัด; พระนครศรีอยุทธยา, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี และบางส่วนของ จว.อ่างทอง เพื่อครอบคลุมเนื้อเรื่องส่วนของต่างจังหวัดทั้งหมด (และแน่นอน กรุงเทพ ก็จะแยกออกมาเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก)
ตอนหน้าจะลงในส่วน location ของสามสี่จังหวัดที่กล่าวไว้ก่อนส่วนกรุงเทพครับ ( มีต่อ )
ภาพร่างงานวัดตอนเปิดเรื่อง
เรามองหาที่โล่งโล่งที่ไม่มีอาคารก่อสร้างมารบกวนในเฟรมภาพ ที่ที่เราจะจัดงานวัดขึ้นได้
ภาพร่างแพที่ใช้จัดงานแต่งงาน แผนกับสะเดา
ในบทไม่ได้ระบุว่าจัดงานที่ตรงไหน แต่เป็นพวกเราที่อยากพาคนดูมาอยู่ใกล้แม่นํ้าให้มากที่สุด และแพที่สร้างขึ้นมาเฉพาะสำหรับฉากนี้/ ฉากนี้เราถ่ายทำกันในอยุธยา ถ้ายังจำภาพกว้างได้ จะเห็นคนมางานแต่ง พายเรือกันมาที่แพ