Alone
Alone
แฝด
About The Film
กรุงเทพ : มีนาคม 2540
พิมและพลอย แฝดหญิงตัวติดกันวัย 15 ปีเข้ารับการผ่าตัดแยกช่องท้องและกระเพาะอาหารเป็นคู่แรกในเมืองไทย ผลปรากฏว่า พิมพี่สาวพ้นขีดอันตราย ส่วนคนน้องเสียชีวิต
หลังพลอยตาย พิมเลือกที่จะละทิ้งความเจ็บปวด และความรู้สึกผิดไว้เบื้องหลัง หนีไปตั้งต้นชีวิตใหม่ที่เกาหลี ชีวิตของพิมคงดำเนินต่อไปอย่างมีความสุขกับผู้ชายที่เธอเลือก ถ้าเสียงโทรศัพท์ในกลางดึกคืนหนึ่ง จะไม่ดึงให้เธอต้องห้วนกลับมาพบความหลังที่เธอทั้งผูกพัน และกลัวสุดขั้วหัวใจ
แม่ของเธอประสบอุบัติเหตุ พิมจึงรีบเดินทางกลับเมืองไทย แต่ทันทีที่เธอเหยียบย่างกลับเข้าบ้านหลังเก่า ความทรงจำในอดีตที่เธอแกล้งลืมมันไปก็ย้อนคืนมา
ในบ้านหลังเดิมที่พิมเคยอาศัยสมัยเด็ก ข้าวของทุกอย่างของพิมและพลอยยังคงแน่นิ่งอยู่ในที่ของมัน รองเท้าเด็กสองคู่ ตุ๊กตาสองตัว เสื้อผ้าชุดติดกัน เวลาเหมือนจะหยุดนิ่งไม่ไหลผ่านไป พิมเริ่มสัมผัสได้ถึงความรู้สึกเก่า ๆ อีกครั้ง ความรู้สึกคล้ายมีคนอยู่ข้างกายตลอดเวลา ทุกลมหายใจ คงจะดีกว่าถ้าพลอยจะเกลียดพิม จนไม่อยากกลับมาอยู่ข้างๆ ตัวพิมเหมือนเดิม
ทว่า ...พลอยยังคงอยู่ที่นี่ รอเธอและโกรธเธอ หรือกระทั่งความตาย ก็ไม่อาจ แยกพลอยจากพิม
เบื้องหลังการถ่ายทำและการเตรียมงาน
ผู้กำกับเปิดใจ “หลังจาก จบการโปรโมท ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ เราก็เริ่มมีไอเดียเรื่องแฝดขึ้นมา มีข่าวดังเรื่องแฝดสยามของไทย คนหนึ่งมีรูปร่างปกติ แต่อีกคนมีแค่หัว ไม่มีร่างกาย ความรู้สึกแรกที่เห็นจะคล้ายสัตว์ประหลาด แต่รูปนี้กระทบความรู้สึกมาก ทำไมถึงเกิดความน่ากลัวและน่าขนลุกขนาดนี้ ทั้งที่เด็ก 2 คนนี้หน้าตาน่ารักมากเหมือนกันทุกอย่าง มีแค่ตัวเท่านั้นไม่เหมือนกัน เลยเป็นจุดเริ่มต้นของการทำหนังเรื่องนี้ หลังจากวันนั้นเราก็อ่านหนังสือที่เกี่ยวกับแฝดสยามเยอะมาก เราศึกษาว่าแฝดสยามอิน-จัน และฝาแฝด เขาดำรงชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างไร หาข้อมูลทุกอย่างมานั่งดู แฝดทั่วไปเขาจะมีจิตผูกพันกัน มีเรื่องแปลกๆ ที่คนทั่วไปไม่รู้ เราก็คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าประเด็นเรื่องแฝดสยามอยู่ในหนัง Horror Drama เลยปิ๊งไอเดียเรื่องการผ่าตัดแยกกัน ถ้าคนหนึ่งเสียชีวิต จะเกิดอะไรขึ้นกับคนที่เหลืออยู่ เพราะเราเคยได้ยินความเชื่อที่เกี่ยวกับเรื่องฝาแฝดว่าเมื่อคนหนึ่งตายไป อีกคนหนึ่งก็จะตายโดยมีสาเหตุคลุมเครือ เป็นแค่ความเชื่อที่น่าสนใจมากเพราะมันมีความเชื่อมโยงบางอย่างที่น่ามหัศจรรย์ ”
ฉากต่างๆ ในภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดี
“บ้านที่สร้าง เราได้พี่ตั้ม (ศักดิ์ศิริ จันทรังษี) โปรดักชั่นดีไซน์ที่ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประประเทศผู้สร้างสรรค์ผลงานของภาพยนตร์เรื่อง Invisible wave ทวิภพ ฯลฯ มาทำบ้านให้ เรื่องนี้บ้านคือหัวใจและเป็นอดีตของตัวละคร ดังนั้นมันจึงเป็นเหมือนพระเอกอีกคนหนึ่ง จากบทต้องเป็นบ้านยุคโคโลเนียล สมัยยุครัชกาลที่ 7 ภายในตัวบ้านมี 10 ห้อง สร้างใหม่ทั้งหลังเซทใหม่ทั้งหมดสวยมากเขาต้องมานั่งคิดโครงการ เพราะมันไม่ใช่แค่สร้างบ้านธรรมดาต้องสวยและสามารถอยู่ได้จริงทุกห้อง ที่สำคัญต้องแข็งแรงด้วย เพราะมันต้องเผาจริง เผาแล้วต้องไม่ถล่ม ต้องเซฟนักแสดง และทีมงาน แต่สุดท้ายต้องเผาบ้านทิ้งทั้งหมด เพราะมีซีนไฟไหม้บ้านทั้งหลัง จะเห็นว่าบ้านเซทมาขนาดนี้ ไฟไหม้ก็ต้องเต็มที่ บางฉากไฟสวยซะจนมีคนถามว่าทำ ซีจีหรือเปล่า แต่ไฟในหนังเรื่องนี้เป็นไฟไหม้จริงทั้งหมด เราได้ทีมไฟมืออาชีพที่เคยทำ Black Hawk down – Hollywood มาทำให้ เราก็เลยได้ฉากไฟไหม้ที่อลังการ และยืนยันว่าไหม้จริง และตัวแสดงก็ต้องเข้าไปอยู่ในนั้นด้วย ทุกคนต้องอยู่ในไฟและไม่มีอะไร 100 เปอร์เซ็นต์ที่จะมาควบคุมไฟได้ ต้องรอบคอบกันมากๆ ซึ่งพอตอนถ่ายทำจริงๆ บางคนไม่เคยเห็นไฟเยอะขนาดนี้มาก่อน ตากล้องแทบจะทิ้งกล้องกันเลย ถ่ายวันแรกผมเข้าไปนั่งอยู่ในห้องข้างๆ ที่จะถ่าย พอมันไฟมันไหม้ขึ้นมาแล้วมันร้อนมาก จนเราอยู่ไม่ได้ ทีมงานที่ไม่จำเป็นต้องออกมาจากเซททั้งหมด เหลือแต่ทีมที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น เฉพาะฉากไฟไหม้อย่างเดียวก็ถ่ายทำกัน 6 - 7 วันแล้ว เห็นในหนังไม่นาน แต่ว่าถ่ายทำแต่ละ shot มันยากมาก ”
(Link http://www.dedicate-ltd.com/image/alone.html)
Design Concept
โดย ศักดิ์ศิริ จันทรังษี
โจทย์ที่เราได้รับจากพี่เต่านา (มล.มิ่งมงคล โสณกุล โปรดิวเซอร์) คือ อยากให้หนังเรื่องนี้ดู elegance ดูสง่างามกว่าชัตเตอร์ เพราะตัวละครมีวัยที่ภูมิฐานกว่าชัตเตอร์ และอยากให้หนังมีสีมากขึ้น จึงเป็นแนวทางที่เรายึดในการทำโปรดักชั่นดีไซน์
Overall Production Design
โดย ศักดิ์ศิริ จันทรังษี
บ้าน
ผู้กำกับต้องการบ้านสมัยรัชกาลที่ 6 - 7 ซึ่งตกค้างมาเป็นบ้านผู้ดีเก่า เราเสนอว่าบ้านสไตล์โคโลเนียลในแบบขนมปังขิงที่เป็นฝาไม้มีหลายเรื่องทำไปแล้ว เช่น จันดารา เราจึงมองว่าควรเป็นบ้านปูน ประกอบกับต้องมีฉากเผาไฟ การทำลุคให้เป็นบ้านปูนนอกจากจะสวยแล้วยังทำหน้าที่เป็นแบ็คดรอปที่ดีในการทำเอฟเฟ็คไฟ และเนื่องจากบ้านในยุคนั้นมีห้องเยอะ มีหลืบ มีทางเชื่อมห้องต่อห้องมากมาย เพราะฉะนั้นเราจึงให้ความมั่นใจได้ว่ามันจะเป็นสเปซที่เหมาะกับการทำหนังผี
โจทย์ที่สำคัญที่สุดของเรื่องแฝดก็คือบ้านหลังนี้ต้องถูกเผาไฟ วัสดุต้องทนไฟเพียงพอ ถ่ายได้หลายเทค ต้องรับแรงรับน้ำหนักของกองถ่ายที่จะทำงานอยู่เป็นเดือนๆ บนบ้านที่เป็นฉาก เราต้องคิดว่าจะสร้างมันอย่างไร
ฉากภายในบ้าน เราสร้างบ้านสองชั้นขึ้นมาในโกดัง ส่วนภายนอกสร้างในโลเคชัน จึงต้องมีการออกแบบให้เชื่อมกันบริเวณระเบียงหน้าบ้านเพื่อเข้าสู่บ้าน
ฉากภายนอกบ้าน ประกอบด้วยบ้าน โรงรถ และเรือนกระจก ซึ่งต้องวางแปลนให้สัมพันธ์กันเพราะมีฉากที่มาช่าขับรถออกมาจากโรงรถแล้วไปพุ่งชนเรือนกระจก
ความคิดแรกของการสร้างบ้านภายนอกคือ เราจะสร้างบ้านบนพื้นดินเพราะเราต้องการต้นไม้ใหญ่ แล้วจึงทำถนนเข้าสู่ตัวบ้าน แต่หลังจากเห็นฝนที่ตกหนักมากจึงตัดสินใจสร้างบ้านบนพื้นปูนซึ่งเป็นสนามเทนนิสร้าง แล้วทำพื้นดินกับสนามหญ้ากลบลงไป
โรงพยาบาล
ฉากโรงพยาบาลในหนังเรื่องนี้ต้องใช้แนวความคิดในการออกแบบ เพราะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในโรงพยาบาลหลายแห่ง เราคุยกับผู้กำกับว่าเราควรจำแนกลักษณะของสถานพยาบาลในหนังให้ชัดเจน เพื่อให้คนดูไม่สับสน แต่ละฉากมีความน่าสนใจ และฝ่ายโลเคชันทำงานได้ง่ายขึ้น
โรงพยาบาลแม่พิม (ปัจจุบัน)
แม่พิมซึ่งเป็นเจ้าของบ้านสไตล์โคโลเนียล ทำให้สามารถอนุมานได้ว่าเธอเป็นผู้ดีเก่า เราจึงให้โจทย์กับทางโลเคชันไปว่า แม่พิมควรพักอยู่ในโรงพยาบาลรัฐ เช่น โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ
โรงพยาบาลพิม (ปัจจุบัน)
พิมเข้ารักษาตัวเนื่องจากตกบันได เราให้โจทย์ไปว่าควรเป็นโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบันมีบรรยากาศเหมือนโรงแรม แตกต่างจากโรงพยาบาลรัฐอย่างชัดเจน
โรงพยาบาลพิม-พลอย (วัยเด็ก)
เรากำหนดให้โรงพยาบาลในอดีตเป็นโรงพยาบาลแบบมิชชันารี เราพยายามถอยอายุโรงพยาบาลไปไกลหน่อย คือเป็นโรงพยาบาลที่สร้างขึ้นเมื่อร้อยปีที่แล้ว แต่ยังดำเนินกิจการอยู่ เราโชคดีไปได้โลเคชันที่โรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งซึ่งเขาซื้อตึกต่อมาจากโรงพยาบาลเก่าเป็นอาคารอายุร่วมร้อยปี แล้วเราก็ดัดแปลงให้โรงเรียนเป็นโรงพยาบาล ให้คนดูรู้สึกว่าเป็นโรงพยาบาลที่เป็นอดีต
พิมพบจิตแพทย์ (ปัจจุบัน)
เมื่อได้โรงพยาบาลสามแห่งแล้ว ในโลเคชันที่สี่ซึ่งพิมมาพบจิตแพทย์ เราคิดว่าควรดึงจิตแพทย์ออกมาจากห้องคลินิกสี่เหลี่ยมเหมือนในหนังที่เราเคยดู ซึ่งการพบจิตแพทย์ก็คือพบจิตแพทย์ ไม่มีเรื่องราวอื่นๆเลย เราจึงคุยกับผู้กำกับว่าให้หมอดนัยเป็นทั้งหมอและเป็นอาจารย์ได้หรือไม่ เราก็อุปโลกน์ว่าห้องนี้ใช้สอนหนังสือ เพราะปกติหมอดนัยไม่ได้บำบัดคนทั่วไป แต่พิมเป็นเพื่อนเขา จึงให้โจทย์ทางโลเคชันไปว่าให้ไปหาตามมหาวิทยาลัยที่มีคณะเกี่ยวกับจิตแพทย์-จิตวิทยาต่างๆ แนะเขาไปว่ามหิดล ซึ่งเราก็ได้ถ่ายทำที่นั่น ในตึกเก่า Early modern ที่มีคาแรคเตอร์ของหน่วยงานราชการและเป็นมหาวิทยาลัยด้วย เราจึงสามารถทำให้โรงพยาบาลถูกแยกเป็นสี่กลุ่มอย่างชัดเจน
Alone
About The Film
Bangkok : March 1998
Pim and Ploy, a 15-year-old Siamese twin, is the first twin whom the operation on separating the abdominal cavity and stomach is succeeded. Anyhow, the result of such operation affects some sad situation to them, the older sister, Pim, survives but the younger one is dead.
After the death of Ploy, Pim chooses to leave her pain and guilty behind. She flees to begin her new life at Korea. Pim leads her life with a man she has chosen. Her life will be happily carried on unless there is a phone call in a late night. It makes her turn back to her past that she is bound with and extremely scared.
Her mother gets an accident so she has to return Thailand unexpectedly. Once she steps in her house, the past memory that she has pretended to forget it comes back to her again.
In the same house where she lived since she was a child, everything is still in their own places, two children shoes, two dolls, and a teddy bear suit of dress. Good old days seem to be still. Pim touches the same old feeling again, the feeling of having somebody with her all the time and every breath. It would be better if Ploy hates her much enough to refuse to have her beside.
But Ploy is still here, waits for her and angry at her. Even the death, it cannot separate Ploy from Pim.
Behind the shooting and production preparation
The director exposes that “after finishing ‘The Shutter’ promotion, we have an idea of ‘Alone’. There’s a news about Siamese twin, one has normal body but another one has only head, no body. The first feeling of seeing this is like we see a monster. This picture affects our feeling. We don’t understand why it frightens us in spite of the two children are very cute. They are similar to each other in every detail, only their body that is not alike. This is the beginning of doing this film. After that day, we have read a lot of books that are about twins. We learn how the In-Jun Siamese twin leads their lives together. We have gathered all information to study. Normally, twin will have a concerned mind with each other. There are some odd stories that people do not know. We then think that what will happen if the issue about Siamese twin is in Horror Drama film. We, accordingly, get an idea of operation on separating the body. If one person is dead, what will happen with another one. This is because we have heard about the twin superstition that when one person is dead, another one will be dead ambiguously. It is the interesting belief as there are some miracle links.”
All the scenes set up in this film is a part of our selection.
We have Tum (Saksiri Chantarangsri), the production designer, who has been admired both domestically and internationally in creating films called Invisible Wave, Tavipop, make the house for us. House is the core of this film. It is also the past of our characters so it is like one of our hero. According to script, it must be the house in colonial era or in the 7th reign. Inside the house, there are 10 rooms. It is the brand new house that we have beautifully set up. He must think of infrastructure since it is not only building an ordinary house but it must also be beautiful and practical. More importantly, it must be strong as it will be burned without collapse. The characters and all the team must be safe. However, this particular house must be finally burned down as there is a scene that the house is fired. We have worked hard on constructing this house so the fire must be realistic. The scene reality makes a query to some people that whether or not the CG has been utilized. The fire in this film is the real one because we have the professional fire team who used to conduct fire scenes in Black Hawk Down – Hollywood join with us so we avail the splendid fire scene. We confirm that it is the real fire and the characters must really be in it. Everybody must be in the real fire and there is no 100 percent sure that it can be controlled. We have to be very much circumspect. When it is time to shoot, somebody who has never seen a huge fire like the one in this film almost leaves the camera and run away from it. On the first day of shooting, I sit in the room where is beside the fire scene, when it flames, it is so hot that we can not stay there as well as the team that is not necessary to be in the scene, they have to move out. Only the fire scene, the shooting takes 6-7 days. Appearing a short time on the movie but shooting in each shot is quite hard.
(Link http://www.dedicate-ltd.com/image/alone.html)
Design Concept
By Saksiri Chantaransri
What we have been expected from Khun Taona (M.L.Mingmongkol Sonnakul, producer) is to make this film elegant and more graceful than ‘The Shutter’. This is because the characters in this film are more mature than ‘The Shutter’. Also, we would like this movie to be more colored. The said factors are our guideline for production design.
Overall Production Design
By Saksiri Chantarangsri
Home
The director would like the 6th – 7th reign house which nowadays has become the former nobleman house. We propose that the colonial style in a way of ginger-bread wooden wall has already been produced in many films such as ‘Chandara’. We then agree that it should be a concrete house because when there is a fire scene, apart from its beauty, the concrete house look will also help to be our good back-drop device in conducting the fire effect. Since the house in that period of time has a lot of rooms, folds, and linking corridors, we therefore assure that it would be suitable for making a horror film.
The most important sum of making ‘Alone’ is that this house must be burned so all devices must be fire-proof and endured much enough to shoot number of scenes as well as lasting for long hour shooting which is to be done in the scenic house. We have to think of how we are constructing it.
We have built a two storey house in a warehouse to shoot the scene in the house. The exterior has been built in the location. Thus, the constructive design is to be created as to make a link among porches entering the house.
The external house scene is composed with house, garage, and mirror lodge. The plan has to be set up appropriately as there is a scene that Masha drives a car from the garage and crashes into the mirror lodge.
Our first idea is to build an external house. We will build the said house on the soil ground because we need a big tree then a street entering the house is constructed afterward. But after we have seen the huge rain, we decide to build the house on the concrete ground which is the deserted tennis court, then, cover it with the soil ground and the lawn.
Hospital
The hospital scene has to be outlined with a particular idea to design it because there is a situation occurred in many hospitals. We have discussed with the director about distinctiveness and categorization of the hospital so that the audience will not be confused. Each scene is interesting itself and our location team works easier.
Hospital of Pim’s mother (at present)
Pim’s mother who owns the colonial style house facilitates us to identify her ex-noble. So what we have assigned the location team is that Pim’s mother should be admitted in a government hospital such as Pramongkut hospital.
Hospital of Pim (at present)
Pim is admitted due to falling from stairs so her hospital should be a private hospital. Atmosphere and environment of the private hospital these days is like hotel. It is obviously different from the government hospital.
Hospital of Pim and Ploy (childhood)
We stipulate that the hospital in the past is the missionary style. We try to age this hospital to be the hospital in a hundred years ago but it still operates. We are lucky that we have got a kindergarten that bought from an old hospital where its age is around a hundred years. We adapt it to be the hospital so the audience will feel that it’s the hospital in the past.
Pim meets Psychiatrist (at present)
When we have all 3 hospitals, the 4th location is where Pim meets a Psychiatrist. We think that we should bring out the Psychiatrist from a square clinic like we have normally seen in other movies. Seeing Psychiatrist is seeing Psychiatirst, nothing else. So we discuss with the director about possibility of making Dr. Danai to be both doctor and professor. We take it for granted that this room is used for teaching because normally, Dr. Danai does not treat patients but Pim is his friend. What we have assigned the location team is to find a university where there is a faculty of Psychiatry or Psychology. We have advised that Mahidol university is suitable and we, finally, shoot our film there. It is an old building, Early modern style that apparently shows the characteristic of government unit and university as well. We therefore make the hospital to be separated in 4 groups distinctly.