Freshy Filmmaker
ตั้งใจจะเขียนถึงประสบการณ์กองถ่ายยุคแรกแรก ที่ผมเพิ่งเข้าวงการภาพยนตร์
เพิ่งมีโอกาสหาเวลาได้ในวันแรงงานแห่งชาตินี่แหละ โดยเป็นเรื่องเกี่ยวกับเจ้านายคนแรกที่เรียกได้ว่าเป็นบอสคนแรกในชีวิตการทำงานของผม, ถอยหลังไปกว่าสามสิบปีได้ ท่านเป็นคนที่สร้างคุณประโยชน์อย่างมากมายในสายงานการสร้างภาพยนตร์โฆษณา และส่งผลขยายมายังการพัฒนาในสายงานการผลิตภาพยนตร์แขนงอื่นอื่นในเวลาต่อมา ครับผมกำลังพูดถึง คุณคธา สุทัศน์ ณ อยุธยา เจ้าของบริษัทสยามสตูดิโอ ที่ทำงานและโรงเรียนภาพยนตร์แห่งแรกของผม
เมื่อเร็วเร็วมานี้ผมอ่านเจอที่ แจ็ค หม่า เขาพูดว่าเมื่อเรียนจบแล้วควรจะหางานประจำทำสักช่วงหนึ่ง ถ้าโชคดีได้เจอเจ้านายเก่งเก่ง คุณจะเรียนรู้ได้มากมายกว่าที่จะออกมาทำเองตั้งแต่ต้น อันที่จริงแล้วในยุคนั้นมันต่างจากสมัยนี้มากนะ แค่เรียนจบออกมา หางานประจำทำได้เนี่ยก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว ผมไม่ได้มีโอกาสจะแวบคิดสักนิดเกี่ยวกับการทำงานอิสระเลยในเวลานั้น
แต่ที่ผมโชคดี ตรงกับที่แจ็ค หม่าพูดก็คือ ผมมีโอกาสได้ทำงานกับเจ้านายเก่งเก่ง ซึ่งในกรณีของผมเนี่ย ต้องเรียกว่าผมโคตรโชคดีมาก ที่มีโอกาสในชีวิตถึงสามปี ที่ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดแบบ face to face, กับคนที่มีความเก่งอัจฉริยะ ขนาดคุณคธา
เคยเขียนเป็นบทความเล็กเล็ก เพื่อระลึกถึงเจ้านาย พิมพ์ครั้งงแรกในหนังสืองานศพของเจ้านาย, เมื่อเร็วเร็วนี้เพจ “มึงอย่าเชื่อกู” ทยอยนำข้อความของศิษย์เก่า คนใกล้ชิดซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลูกน้องของท่านมา
ทยอยลง ใครสนใจสามารถตามไปได้ที่ลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/dontbelieveme555/posts/341303176648234?__tn__=K-R
ผมเลยมานั่งคิดว่า ผมยังมีเรื่องที่ยังอยากเขียนถึงประสบการณ์อันมีค่าที่เกิดขึ้นกับตัวผมเอง โดยผมได้รับคำสอนจากเจ้านายมาแชร์เล่าสู่กันฟัง
เนื่องด้วยเป็นคนพิมพ์ไม่เก่ง จึงขอสัญญากับตัวเองว่าจะเขียนให้เสร็จเป็นตอนตอนไป
โดยตอนแรกขอใช้ชื่อเรื่องว่า
“สนีคเกอร์คู่ใหม่ในรอยโคลน”
ผมจำได้อย่างเดียวว่ามันคือ โฆษณาบริษัทไทยสมุทรพานิชย์ประกันภัย ย้อนไปในวันเวลานั้น (คศ.1986)ต้องถือว่าเป็นของใหม่ใหม่สำหรับผู้ชมทีวี เพราะสินค้าที่เรากำลังทำอยู่นี้ มีแง่มุมที่สำคัญในเชิงของการตลาด คือการสร้างภาพพจน์ให้กับตัวองค์กร,
กองโปรดัคชั่นที่เจ้านายเป็นผู้กำกับ เราล่องขากลับมาจากจังหวัดอยุธยา นัยว่าเย็นวันนั้น เขาเล็งกันไว้ว่า จะเป็นซีนพนักงานขายประกันหนุ่มเสื้อเชิ้ตสีขาวผูกเนคไท ในฐานะตัวแทนบริษัทประกันภัย กำลังเดินผ่านทุ่งนาข้าว เพื่อไปเยี่ยมบ้านลูกค้า
อารมณ์ประมาณว่าลำบากแค่ไหน (ที่รถยนตร์ไปไม่ถึง) แต่ตัวแทนประกันของเรา ไม่ย่อท้อที่จะบุกไปเยี่ยมลูกค้า
โลเคชั่นที่พวกเจ้านายคงดูไว้ก่อนหน้านี้แล้ว อยู่แถบรังสิตกระมัง ในเวลานั้นมองจากถนนหลวงลงไปเราจะเห็นทุ่งนาข้าวเขียวขจี เต็มไปหมด
เราล่องกันมาถึงในตอนบ่ายแก่แก่ เป็นคาราวานรถตู้ รถขนอุปกรณ์กล้อง รถปั่นไฟ และอื่นอื่นนับสิบคัน กองถ่ายในเวลานั้น รถรา, ถนนหนทางไม่เนืองแน่นแบบปัจจุบัน มีเพียงตำรวจท้องที่คันเดียว พวกกองถ่ายก็จัดการจอดเรียงกันเป็นระเบียบ บนไหล่ทางเป็นแนวยาว ถนนที่มีไหล่ทางอยู่สูงกว่าผืนนามาก ห่างกันร่วมสองเมตรทีเดียว
แสงแดดคล้อยลงเป็นเวลาเย็นเย็น ช็อตที่จะถ่ายทำนั้นง่ายง่าย นักแสดงแต่งหน้าแต่งตัวมาก่อนหน้านี้แล้วจากตอนบ่าย ลงมาจากรถตู้ แล้วผู้ช่วยผู้กำกับ ก็หาแนวทางเดินให้พ่อหนุ่ม วางไลน์ให้เจ้านายและพี่ดอม ช่างภาพ ดูว่าสัมพันธ์กับทิศทางของแสงเป็นอย่างดี ช็อตที่ง่ายง่ายเช่นนี้ทำให้ทุกคนในกองถ่าย คลายความกังวลลงไปมาก มันจะเป็นการปิดกองในเย็นวันนั้นอย่างง่ายดาย แต่เหตุการณ์มันไม่ได้ลงเอยแบบง่ายเช่นนั้นหรอก
ในตอนนั้นเป็นช่วงปีแรกแรกในการทำงาน ผมทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย Art Director, และทำทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับงานที่แผนกศิลปกรรมที่ต้องทำ นั่นแหละครับ พวกหาของมาเข้าฉาก, ทำงานแสตนบายหน้ากอง, ตกแต่งแพ็คสำหรับถ่าย product shots ในแผนกจริงจริงก้อยังมีน้าพเยาว์ ขับรถ prop และทำงานกองถ่ายมาตั้งแต่เปิดบริษัท, น้าแอ้ด มิสเตอร์ handy man คือแกทำได้หมดตั้งแต่งาน Swing Gang ไปถึงงาน เทคนิคพิเศษ Special Effect ใดใด และคนอื่นอื่นอีกแต่จำไม่ได้หมด
พวกพี่พี่นี่แหละที่ทำให้เด็กจบปริญญาตรีแบบผม เป็นเหมือนเด็กมัธยมประจำกองถ่ายไปเลย แต่พวกแกก็น่ารักกับผมมาก คอยให้คำปรึกษาในการทำงานตลอดเวลา
ซึ่งงานกองถ่ายนั้น ดูจะเข้าทางกับคนแบบ street smart เช่นพวกเขา มากกว่าผมที่ทั้งชีวิตจบมามีแต่ชีวิตอินดอร์ ในรั้วมหาวิทยาลัย เท่านั้น
ผมทำงานมาสักพักแล้วล่ะครับ แต่ต้องถือว่าเป็นเด็กใหม่ประจำกองทีเดียว สถานการณ์การถ่ายทำในวันนี้ สำหรับผมแล้วคือต้องนั่งชมอย่างเดียว ประมาณว่าสบายแล้วล่ะตรู พวกเราก็จับกลุ่มคุยกัน อาศัยตัวถังรถบังแดด กลุ่มใครกลุ่มมัน ยืนนั่งมองทีมงานกำกับ เขาทำงานกัน ผมเข้าใจว่าเจ้านายหรือผู้จัดการกองเค้าคงรู้ดีว่า ซีนนี้ถ่ายออกมาจะได้ภาพที่สวยงามถูกใจลูกค้า ซึ่งก็คือ บริษัทลีโอ เบอร์เนต ที่ในช่วงเวลานั้นเป็นลูกค้าสำคัญของ สยามสตูดิโอ ในช่วงนั้นบริษัททั้งคู่สร้างผลงานอันเป็นที่น่าจดจำในประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์โฆษณาของไทย มากมายหลายชิ้น
หลังจากที่เจ้าหนุ่มซ้อมเดินไปมาอยู่สักพัก นัยว่าด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ นักแสดงกับกล้องของพี่ดอมและผู้กำกับอยู่ห่างกันหลายสิบเมตร และพวกกองถ่ายที่ไม่ได้มีบทบาท ยิ่งอยู่ห่างออกไปอีกนับสิบเมตรแถมยังอยู่ในระนาบที่เปรียบเสมือนทั้งกองถ่ายยืน
เรียงรายกันอยู่บนสเตเดี้ยมคอยชมการถ่ายทำ เจ้านายสั่งงานเริ่มเทคแรกผ่านวอ เสียงทุ้มทรงพลังของเจ้านาย ผมเริ่มคุ้นคุ้นมาสักพักแล้ว ผมเห็นคุณ ภาณุ อิงควัติ Creative Directer ยืนปรึกษากับเจ้านายอยู่ครู่นึง จากนั้น ก็มีเสียงวอตามสาย
“ ตั้ม..ตั้ม เดินมาหาผมหน่อย”
มีตอนจบในโพสต์หน้า